เมื่อเราทราบว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหัก จำเป็นจะต้องดามกระดูกก่อนให้การเคลื่อนย้าย โดยมีหลักในการดามดังนี้
1. กระดูกที่มีลักษณะหักแบบเปิด ให้ใช้ผ้าสะอาดปิดคลุมบริเวณที่บาดเจ็บ
2. ห้ามจัดหรือดึงกระดูกให้เข้าที่ ไม่ว่ากระดูกนั้นจะโก่ง งอ หรือคด
3. ผูกเฝือกให้แน่นพอควร เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก
4. ดามแบบ " สูง 1 ต่ำ 1 " เสมอ ทุกครั้งที่ดามกระดูก ให้ใช้หลักการดังนี้ " ดามให้เฝือกอยู่สูงกว่าส่วนที่หักขึ้นไป 1 ข้อ และดามให้เฝือกอยู่ต่ำกว่าส่วนที่หักลงไป 1 ข้อ" เช่น กระดูกปลายแขนหัก (กระดูกแขนที่อยู่ระหว่างข้อมือจนถึงข้อศอก ) คุณต้องดามให้เฝือกยาวกว่าข้อศอก (สูง 1) และยาวกว่าข้อมือ( ต่ำ 1 ) ถ้าคุณดามได้ดังนี้ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยมากเวลาเคลื่อนย้าย
กระดูกต้นแขนหัก กระดูกต้นขาหัก กระดูกปลายขาหัก
(หัวไหล่-ข้อศอก ) (ข้อสะโพก-ข้อเข่า) (ข้อเข่า-ข้อเท้า)
หากคุณสามารถทำได้ตามหลักการที่บอกไว้ รับประกันได้ว่า จะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บาดเจ็บได้ รวมทั้งยังสามารถลดหรือบรรเทาอาการเจ็บปวดได้มากทีเดียว
อยากทราบหลักการดามขา
ตอบลบไม่รู้สิ
ตอบลบ