การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาสามารถเกิดขึ้นได้หลายแบบ บางชนิดนักกีฬาหรือผู้ฝึกสอนสามารถรักษาพยาบาลกันเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางแพทย์แต่อย่างใด การปฐมพยาบาลเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะแม้จะเป็นบาดเจ็บที่ต้องรับการรักษาจากแพทย์ แต่ถ้าได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีก่อนที่จะมีแพทย์มาดู หรือไปถึงมือแพทย์ก็จะสามารถแบ่งเบาภาระของแพทย์ทำให้การักษาง่ายขึ้น ตรงกันข้าม ถ้าได้รับการปฐมพยาบาลที่ผิดวิธี อาจทำให้บาดเจ็บน้อยกลายเป็นบาดเจ็บมากและรักษาได้ยากขึ้น ดังมีตัวอย่างเสมอในบ้านเรา ซึ่งไม่สามารถจะมีแพทย์ประจำสนามได้ทุกครั้งที่มีการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน เพื่อให้นักกีฬาและผู้ฝึกสอนสามารถให้การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องได้เองเมื่อประสบอุบัติเหตุได้รับ จะขอกล่าวถึงบาดเจ็บเฉพาะที่พบบ่อย ๆ และการปฐมพยาบาลเท่าที่สามารถทำได้เองเป็นข้อ ๆ ไป
ตะคริว
เป็นบาดเจ็บไม่รุนแรงซึ่งนับได้ว่าพบบ่อยที่สุด
- ตัวอย่างกล้ามเนื้อน่องซึ่งทำหน้าที่เหยียดปลายเท้าขณะเป็นตะคริวจะหดเกร็งและทำให้ปลายเท้าเหยียด การใช้กำลังดันปลายเท้าเข้าหาเข่า โดยค่อย ๆ เพิ่มกำลังดัน
- จะช่วยเหยียดกล้ามเนื้อน่องได้ การใช้ของร้อนประคบหรือถูนวดเบา ๆ จะช่วยให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อคลายและมีกำลังยืดหดได้อีก ถ้าเป็นพร้อมกันหลายแห่ง สาเหตุมักเกิดจากการขาดน้ำ, อาหาร, เกลือแร่ในกล้ามเนื้อ การให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วย ให้น้ำผสมเกลือแกงดื่มเป็นระยะ ๆ
ฟกช้ำ เคล็ด, แพลง
การปฐมพยาบาล ใช้ของเย็นประคบบริเวณที่ถูกกระแทกอย่าเพิ่งถูนวด ถ้าเป็นบริเวณที่ติดกับกระดูก เช่น หน้าแข้ง, หนังศีรษะ อาจใช้ผ้าพันให้แน่น หลัง 24 ชั่วโมงแล้วจึงใช้ของร้อนและถูนวดเบา ๆ ได้
กล้ามเนื้อฉีก
การปฐมพยาบาล
- ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่พักกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บให้มากที่สุด ถ้ามีปลาสเตอร์ก็ใช้ติดจากส่วนบนของกล้ามเนื้อมายังส่วนล่างหลาย ๆ ชิ้น แล้วพาดขวางอีกหลาย ๆ ชิ้น
- แล้วใช้ผ้ายึดรัดอีกชั้นหนึ่ง การใช้ของเย็นประคบใน 24 ชั่วโมงแรก ช่วยไม่ให้มีเลือดออกมากในกล้ามเนื้อ หลังจากนั้นต้องพักการใช้กล้ามเนื้อนั้นจนไม่มีความเจ็บปวดอีก จึงเริ่มให้ออกกำลังเบา ๆ ในระดับที่ไม่มีความเจ็บปวด และค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น