ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์
ฉุกเฉิน หมายถึง การเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน โดยปัจจุบันทันด่วนและต้องการการช่วยเหลือและแก้ไขอย่างรีบด่วน มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือทำให้เกิดความพิการและความทุกข์ทรมานอย่างมากได้
การจำแนกประเภทผู้บาดเจ็บ
การจำแนกประเภทผู้บาดเจ็บ(triage) มาจากภาษาฝรั่งเศส คำว่า trier ตรงกับภาษาอังกฤษว่า sort แปลว่า การคัดแยกจัดเป็นหมวดหมู่
การจำแนกประเภทผู้บาดเจ็บ
1. แบ่งตามอาการบาดเจ็บ
2. แบ่งตามความเร่งด่วนของการรักษา
3. แบ่งตามกลุ่มโรค
1. แบ่งตามอาการบาดเจ็บแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
1. สีแดง อาการหนัก ต้องช่วยเหลือทันที
2. สีเหลือง อาการปานกลาง รอได้ในระยะเวลาหนึ่ง
3. สีเขียว อาการเบา เดินได้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
4. สีดำ เสียชีวิต หรือไม่มีทางรอด
เทคนิด start triage
การแยกคนที่ได้รับบาดเจ็บซึ่งเดินได้ รู้สึกตัวดี ให้เป็นสีเขียว ส่วนที่เหลือประเมินเป็น สีแดง สีเหลืองและสีดำ
2. แบ่งตามความเร่งด่วนของการรักษา
1. ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก (Emergent)
2. ผู้ป่วยฉุกเฉิน (Urgent)
3. ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน (Non-emergent)
ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก (Emergent)
หมายถึง เป็นภาวะที่คุกคามต่อชีวิตต้องให้การช่วยเหลืออย่างรีบด่วน ผู้ป่วยที่ต้องการการตรวจรักษาทันทีมิฉะนั้นผู้ป่วยจะตาย หรือพิการอย่างถาวรในเวลาไม่กี่นาที ซึ่งภาวะฉุกเฉินมากที่ต้องวินิจฉัยและให้การตรวจรักษาทันที
ผู้ป่วยฉุกเฉินมาก (Emergent)
1.ภาวะ “หัวใจหยุดเต้น” (Cardiac arrest)
2.หายใจไม่ออก หยุดหายใจ
3.ภาวะ “ช็อก”
4.ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว
5.เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา
ผู้ป่วยฉุกเฉิน (Urgent)
เป็นภาวะที่ต้องการการช่วยเหลือโดยเร็ว รอได้บ้างแต่ไม่นาน เป็นภาวะที่ผู้ป่วยต้องการการช่วยเหลือทางการรักษาพยาบาลจัดเป็นอันดับรองจากกลุ่มแรก ผู้ป่วยประเภทนี้ถ้าปล่อยทั้งไว้ไม่ให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างถูกต้อง ก็อาจทำให้สูญเสียชีวิตหรือพิการได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีอาการหรืออาการแสดงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ผู้ป่วยฉุกเฉิน (Urgent)
1.หายใจช้ากว่า 10 หรือเร็วกว่า 30 ครั้ง/นาที หายใจลำบากหรือหายใจเหนื่อยหอบ
2.ชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 150 ครั้ง/นาที โดยเฉพาะถ้าร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
3.ไม่รู้สึกตัว ชัก อัมพาต หรือตาบอด หูหนวกทันที
4.ตกเลือด ซีดมากหรือเขียว
5.เจ็บปวดมากหรือทุรนทุราย
6.มือเท้าเย็นซีด และเหงื่อแตก ร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
7.ความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 90 มม.ปรอทหรือตัวล่างสูงกว่า 130 มม.ปรอท โดยเฉพาะร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
8.อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 35° c หรือสูงกว่า 40° c โดยเฉพาะร่วมกับลักษณะทางคลินิกข้ออื่น
9.ถูกพิษหรือ Drug overuse
10.ได้รับอุบัติเหตุ โดยเฉพาะบาดแผลที่ใหญ่มากและมีหลายแห่ง เช่น major multiple fractures,Burns, Back injury with or without spinal cord damage
11.ภาวะจิตเวชฉุกเฉิน
12.เป็นภาวะที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องพึ่งการให้บริการหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน แต่ต้องได้รับการตรวจรักษาโดยการส่งต่อไปตรวจ ณ แผนกผู้ป่วยนอก หรือจัดลำดับความสำคัญในการรักษาเป็นลำดับสุดท้าย
ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน (Non-emergent)
1.Minor fracture or other minor injury
2.Dead On Arrival (DOA)
3.Chronic backache
4.Moderate headache
5.Common cold
3.แบ่งตามกลุ่มโรค
1. ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรม ได้แก่โรคหัวใจและหลอดเลือดผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรม
2. ผู้ป่วยฉุกเฉินทางต่อมไร้ท่อเช่นผู้ป่วยที่มีภาวะคีโตนอะซิโดสิส
3. ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรม เช่นมีภาวะปอดแตก
4. ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางสูตินารีเวช ได้แก่ ปัญหาที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ หรือเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องช่วยเหลือด่วนเกี่ยวกับระบบสืบพันธ์สตรี เช่นการล่วงละเมิดทางเพศ
5. ผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางจิตเวช เช่นผู้ป่วยsuicide
หลักการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน
1.ประเมินสภาพ (ABCD)
- ประเมินดูความรู้สึกตัว
- ประเมินทางเดินหายใจ
- การหายใจ
- การไหลเวียน
- การทำหน้าที่ของอวัยวะ
- รวมทั้งปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยเช่นปวดท้อง
2.ให้การช่วยเหลือทันที เช่น ให้ออกซิเจน ให้กลูโคส ช่วยฟื้นคืนชีพ
3.ซักประวัติจากผู้ป่วยหรือญาติ (SAMPLE)
4.การยกและเคลื่อนย้าย นำส่งโรงพยาบาลด้วยวิธีที่เหมาะสม
22 กรกฎาคม 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การประเมินสภาพผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน การจำแนกประเภทผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน
ตอบลบMerkur Futur Adjustable Safety Razor - Sears
ตอบลบMerkur Futur Adjustable gri-go.com Safety 도레미시디 출장샵 Razor is the perfect balance of performance, safety, and comfort. Made in Solingen, Germany, https://septcasino.com/review/merit-casino/ this razor https://jancasino.com/review/merit-casino/ has a perfect balance of